กว่าจะมาเป็นตลาดต้องชม วงเวียนนเรศวร
ก่อนขึ้นเขาใหญ่ฝั่งปราจีนบุรี มีตลาดวงเวียนนเรศวรให้จับจ่ายสินค้า
ในอดีต ตั้งอยู่ ณ บริเวณตรงข้ามศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ติดกับรั้วค่ายพรหมโยธี ตำบลบ้านพระ อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี เป็นจุดทางขึ้นเขาใหญ่ฝั่งจังหวัดปราจีบุรี ถือกำเนิดขึ้นหลังจากที่จังหวัดปราจีนบุรีได้สร้างพระพุทธรูปของสมเด็จพระนเศวรมหาราช ไว้ที่ต้นทาง ถนนสุวรรณศรเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระองค์ท่าน
เมื่อปี พ.ศ.๒๑๓๘
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเกณฑ์ชาวปราจีนบุรี, สระบุรี, นครนายก และฉะเชิงเทรา ไปปราบนักพระสัฏฐาโอรสของพระบรมราชากัมพูชา(พระยาละแวก) ซึ่งโอรสองค์นี้เคยยกกำลังมาเกณฑ์ชาวเมืองไป
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกตราทัพมาที่ค่ายทำนบปราจีนบุรี
ค่ายทำนบปราจีนบุรี (ค่ายนี้อยู่ในเขตแดนของปราจีนบุรี) ประการสำคัญที่สุดคือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่๙)และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชนีนารถ ทรงเสด็จมากระทำพิธีเปิด เมื่อ ๒๕ มกราคม ๒๕๑๔ ทำให้เริ่มมีชาวบ้านในบริเวณนั้น นำสินค้า พืช ผัก และผลไม้ ที่เพาะปลูกภายในชุมชนออกมาจำหน่าย
วงเวียนนเรศวรเป็นชุมทางของรถโดยสารสาธารณะ
ที่ตั้งของวงเวียนนเรศวรยังเป็นชุมทางของรถโดยสารสาธารณะ ที่เดินทางผ่านไปยังกรุงเทพมหานครหรือไปแหล่งท่องเทียว เช่น เขาใหญ่ หรือวังน้ำเขียวเป็นต้น ทำให้ตลาดขยายตัวรวดเร็ว มีสินค้าทั้งจากชุมชนและสินค้าร่วมสมัยมาจำหน่าย และในปี พ.ศ. ๒๕๕๗ มณฑลทหารบกที่ ๑๒ ในฐานะเจ้าของพื้นที่ ก็ได้ดำเนินการจัดระเบียบตลาดตามนโยบายของรัฐบาล โดยได้ย้ายมาตั้งบริเวณที่ว่างของศูนย์โอทอปจังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามกับตลาดแห่งเดิมและติดกับศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในปัจจุบัน ตลาดวงเวียนนเรศวรจะเป็นแหล่งจับจ่ายสินค้าของชาวบ้าน ทหาร ในบริเวณนั้นและรวมถึงผู้เดินทางรถสาธารณะ นักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางขึ้นเขาใหญ่ฝั่งจังหวัดปราจีนบุรี โดยที่ตลาดเปิดให้บริการทุกวัน แบ่งเป็นช่วเช้า ๐๓.๐๐ - ๑๐.๐๐ น. และช่วงเย็น ๑๕.๐๐ - ๒๑.๐๐ น. มีร้านค้ามากกว่า ๓๐๐ ร้านค้า แบ่งเป็น สินค้าเกษตร เนื้อสัตว์ ปลา และอาหารทะเล ผักและผลไม้ อาหารตามสั่ง อาหารสำเร็จรูป อาหารแห้ง ขนมหวาน ดอกไม้พวงมาลัย เสื้อผ้าและกิ๊ฟช็อป ของชำของพื้นเมือง สินค้าหัตถกรรม OTOP และร้านอาหารหนูณิชย์... พาชิม ที่ได้รับการส่งเสริมจากกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ จำนวน ๑๑ ร้านค้า
ตลาดต้องชม วงเวียนนเรศวรในปัจจุบัน